12 กุมภาพันธ์ 2564
ในบทความที่แล้วได้แนะนำวิธีการวอร์มอัพเพื่อเตรียมตัวก่อนออกวิ่งอย่างถูกวิธี นั่นก็คือ “Dynamic Stretching” เนื่องจากนักวิ่งส่วนมากมักเข้าใจผิดและสลับกับการคูลดาวน์ แบบ “Static Stretching” ที่เป็นการยืดเหยียดแบบอยู่กับที่หรือไม่เคลื่อนไหวบ่อยครั้ง ซึ่งการทำ Static Stretching ก่อนวิ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง นอกจากร่างกายจะไม่พร้อมแล้วอาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการวิ่ง แต่หากเราทำถูกที่ ถูกเวลา จะส่งผลดีต่อร่างกายและการวิ่งของคุณแน่นอน
Static Stretching คืออะไร?
ถ้าให้อธิบายง่ายๆ คือ การยืดเหยียดแบบหยุดนิ่ง เน้นค้างอยู่กับที่ ประมาณ 10-20วินาที ซึ่งหัวใจเราจะไม่ได้ทำงานหนักและเต้นแรงเหมือนกับ Dynamic Stretching โดยการยืดกล้ามเนื้อแบบหยุดนิ่งนี้ถือเป็นจุดบอดและความเชื่อผิดๆ ของคนที่ออกกำลังกายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยการศึกษาเผยว่าหากทำก่อนออกกำลังกาย ส่งผลให้ความแข็งแรงและการระเบิดแรงลดลง และนักวิ่งที่ยืดกล้ามเนื้อแบบหยุดนิ่งก่อนวิ่งสม่ำเสมอ จะเกิดการบาดเจ็บมากกว่าตอนที่หยุดทำ
สำหรับนักวิ่งทั่วไป การยืดกล้ามเนื้อแบบหยุดนิ่งได้ผลดีที่สุดเมื่อทำหลังจากฝึกซ้อมเสร็จทันที เพราะกล้ามเนื้อยังอุ่นอยู่ โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที สามารถใช้ลดอาการยึดติดหลังการวิ่งที่อาจมีผลต่อเนื่องในวันอื่นได้ ซึ่งข้อดีคือทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ และลดการดึงตัว ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการบาดเจ็บ
ยืดเหยียดหลังวิ่งที่นักวิ่งหลายคนละเลย
ก่อนเริ่มซ้อมหรือแข่งวิ่งเรามักตื่นเต้น ตื่นตัว วอร์มอัพแบบจริงจัง แต่พอวิ่งเสร็จหรือเข้าเส้นชัยมันเหนื่อย มันหิว หรือ มีความรู้สึกอื่นที่ทำให้คุณลืมที่จะยืดเหยียดอย่างเหมาะสม ลองดูสิว่าคุณเข้าข่ายไหนบ้าง
การวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะมีกรดแลคติกสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า หรือแม้แต่อาการบวมที่อาจเกิดจากปัจจัยอื่น การยืดเหยียดแบบหยุดนิ่งหรือนวดคลึงกล้ามเนื้อหลังจากวิ่งจะช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น และเป็นการทำให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายและกลับสู่สภาพปกติหลังจากการใช้งานที่หนักหน่วง บทความนี้เรามีท่าเบื้องต้นสำหรับนักวิ่งที่มือใหม่ก็ทำได้มาให้ได้ลองทำกัน
Shoulder Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: หัวไหล่, ข้อต่อ, คอ
วิธีทำ:
Triceps Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: กล้ามแขนด้านหลัง (triceps), กล้ามเนื้อเดลทอยด์ (Deltoids Lats)
วิธีทำ:
Standing Side Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: หลังด้านล่าง, ลำตัว, กระดูกสันหลัง
วิธีทำ:
Butterfly Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: กล้ามเนื้อต้นขาด้านใน, ขาหนีบ, สะโพก, หัวเข่า
วิธีทำ:
ITB (Iliotbial Band) Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: มัดเอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก
วิธีทำ:
Calf Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: กล้ามเนื้อน่อง, ข้อเท้า, เอ็นร้อยหวาย
วิธีทำ:
Hamstring Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: กล้ามเนื้อต้นขาส่วนหลัง (hamstring)
วิธีทำที่ 1 (แบบยืน) :
วิธีทำที่ 2 (แบบนอน) :
Quadriceps Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: กล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้า (quadriceps)
วิธีทำ:
Lower-back Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: หลังล่าง, กระดูกสันหลัง, ลำตัว
วิธีทำ:
Child’s Pose Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: กล้ามเนื้อสะโพก, กล้ามเนื้อต้นขา, ข้อเท้า, คอ
วิธีทำ:
Lying Figure-Four Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: กล้ามเนื้อกลูเตียส (Gluteus Maximus), Hip Flexors
วิธีทำ:
Pigeon Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: กล้ามเนื้อก้น (Gluteus Maximux, Gluteus Minimus), กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis)
วิธีทำ:
Kneeling Hip-Flexor Stretch
กล้ามเนื้อที่ได้: กล้ามเนื้อก้น, Hip Flexors
วิธีทำ:
อยากวิ่งแบบสนุก จบแบบไม่เจ็บ และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อย่ามองข้ามสิ่งเล็กๆ ที่ไม่เล็กเหล่านี้ ทำให้เป็นประจำทุกครั้งหลังออกกำลังกาย ช่วยป้องกันการบาดเจ็บ ร่างกายยืดหยุ่นและแข็งแรงขึ้น สามารถทำได้ทุกวัน แม้ในวันที่คุณพักก็ตาม
เคล็ดลับควรรู้สำหรับนักวิ่งมือใหม่
TAG ที่เกี่ยวข้อง