15 มิถุนายน 2564
หลังจากมีเหตุการณ์สลดเกิดขึ้นในวงการวิ่งบ้านเรา เมื่อนักวิ่ง 3 ราย เสียชีวิตกระทันหันระหว่างแข่งขันในวันเดียวกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิญ วัย 59ปี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ระหว่างร่วมวิ่ง 5 กิโลเมตร ในงานมินิฮาล์ฟมาราธอน ที่อุทยานวีรชน ค่ายบางระจัน ซึ่งเจ้าตัวล้มลงหมดสติใน กม. ที่ 2 ทีมแพทย์เร่งปฐมพยาบาลและนำตัวส่งโรงพยาบาลแต่เสียชีวิตใจเวลาต่อมา ส่วนอีก 2 ราย เกิดขึ้นในงาน อาสาพาวิ่ง 2020 รอบอ่างเก็บน้ำดอกกราย อ.ปลวกแดง จ. ระยอง ทั้งคู่เป็นเพศชาย อายุ 54 และ 30ปี ทีมแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
โรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน(Sudden Cardiac Arrest) คืออะไร?
หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันคือการที่หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้เพียงพอ เพราะมีปัญหาในระบบไฟฟ้าที่กำกับระบบจังหวัดการเต้นของหัวใจ จนทำให้หัวใจหยุดเต้นหรือเต้นแบบไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปกติหัวใจคนเราจะเต้นที่ประมาณ 60-80 ครั้ง/นาที ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ
ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจก็เป็นได้
แม้สถิติผู้เสียชีวิตจะเกิดในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปก็ตาม แต่ส่วนหนึ่งของผู้เสียชีวิตนั้นมีอายุน้อย เป็นนักกีฬา ดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และไม่มีประวัติมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหัวใจมาก่อน งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของประเทศแคนาดา (CMAJ) เมื่อปี 2019เปิดเผยว่า แม้โรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่อัตราการเกิดนั้นต่ำมาก เพียง 0.75 ใน 100,000 ปี1 และสามารถเกิดขึ้นแม้ในขณะที่หลับด้วยซ้ำ โดยขณะคนที่เป็นโรคนี้ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล 90% เสียชีวิต
วิ่งระยะไกลเสี่ยงแค่ไหน?
การวิ่งทางไกลหรือ trail นั้นเป็นการออกกำลังกายที่สูงและต่อเนื่องเป็นเวลานาน สามารถกระตุ้นกลไกต่างๆ ที่ทำให้หัวใจหยุดทำงานฉับพลันได้แม้เป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงดีและไม่ได้เป็นโรคหัวใจก็ตาม เพียงแต่โอกาสที่เกิดจะน้อยกว่าคนที่เป็นโรคหัวใจหรือมีปัจจัยเสี่ยงซ่อนเร้นอยู่แล้ว ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตแตกต่างออกไป
สาเหตุของโรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเมื่อไรมันจะเกิดขึ้น จะรู้ก็ต่อเมื่อมันเกิดขึ้นทันที สามารถเกิดได้ทุกที่ทุกเวลา โดยกลุ่มอายุเกิน 35 ปีขึ้นไปที่เสียชีวิต สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจาก
ใน 3 ข้อแรกเป็นเรื่องที่คาดคะเนได้ยากมากหรือแทบไม่ได้เลยด้วยซ้ำ และในหลายรายก็ตรวจไม่พบอาการผิดปกติใดๆ สำหรับนักกีฬาที่อายุน้อย (ต่ำกว่า 35 ปี) สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากโรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด แต่อาจซ่อนเร้นและไม่มีอาการใดๆ นำมาก่อน บางรายเป็นคราบในผนังหลอดเลือดหัวใจแตก กระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันฉับพลัน หรือแม้แต่การใช้สารเสพติดหรือยาเกินขนาดก็ส่งผลอันตรายต่อหัวใจได้
บางรายที่แข็งแรง ไม่มีอาการเกี่ยวกับหัวใจ ไม่กินเหล้า สูบบุหรี่ แต่ออกกำลังกายที่ใช้แรงกระชากเยอะอาจมีความเสี่ยงได้ เช่น เทนนิส, ฟุตบอล เพราะต้องวิ่งจากอีกจุดไปอีกจุดด้วยความรวดเร็ว ทำให้หลอดเลือดฉีกขาดได้ ดังนั้นระหว่างแข่งขันหรือเล่นกีฬาไม่ควรหยุดนิ่ง ต้องคอยขยับเคลื่อนที่อยู่เสมอ
สังเกตตัวเองก่อนออกกำลังกาย
แม้ไม่สามารถคาดเดาว่าเมื่อไรโรคนี้จะเกิดขึ้นกับตัวเรา แต่เราสามารถสังเกตตัวเองว่ามีอาการที่เข้าข่าย “กลุ่มเสี่ยง” หรือที่เรียกว่า red flags หรือไม่ ซึ่งประมาณ 29% ของผู้ที่เป็นโรคนี้มีอาการก่อนจะเกิด ลองเช็คตัวเองให้ดีว่าคุณมีอาการดังนี้หรือเปล่า
กันไว้ดีกว่าแก้
แม้จะไม่รู้ว่าเมื่อไรโรคนี้จะเกิดขึ้นกับตัวเรา นักวิ่งหรือนักกีฬาส่วนมากที่มีอาการโรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมักไม่ค่อยรอดชีวิตมาบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น หลายคนไม่มีอาการนำใดๆ มาก่อนจนถึงวันแข่ง แต่จากสถิติของนักกีฬาที่เสียชีวิตใน London Marathon ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ส่วนมากอายุเฉลี่ย 49 ปี เป็นชายมากกว่าหญิง และน้อยกว่าครึ่งได้รับการทำ CPR และ AEDทันท่วงที ซึ่งรายที่รอดชีวิตจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันได้รับการกู้ชีพและใช้เครื่อง AED เร็ว
หากเจอคนที่มีอาการต้องทำยังไง
หากเจอเพื่อนนักวิ่งในสนามเกิดอาการดังกล่าว เช่น เป็นลม หมดสติ หรือล้มลงแบบไม่มีสาเหตุ อันดับแรกควรดูว่าหมดสติ มีชีพจร หายใจอยู่หรือไม่ ให้เรียกหน่วยพยาบาลทันที พร้อมกับปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานโดยการทำ CPR และโทรเรียก 1669
หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเกิดขึ้นได้กับทุกคน มักเกิดขึ้นเฉียบพลันและไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน นักวิ่งหลายคนไม่อยู่รอดชีวิตมาเล่าประสบการณ์ ณ ตอนนั้นให้ฟัง ดังนั้นอย่าใช้ชีวิตประมาท หมั่นสังเกตตัวเอง ไม่ฝืน และหากเกิดเหตุการณ์ตรงหน้า การหยุดแข่งขันและช่วยชีวิตเพื่อนนักวิ่งด้วยกัน เป็นสิ่งที่จำเป็น
อย่าลืมว่าเราออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพดี ไม่ใช่เพื่อทำลายมัน
Reference
1Yehia Fanous, Paul Dorian. (2019, July 15). Stadiumth citation. The prevention and management of sudden cardiac arrest in athletes. Retrieved from https://doi.org/10.1503/cmaj.190166
TAG ที่เกี่ยวข้อง