stadium

"จงไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่" การคิดต่างอย่าง พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์

22 มีนาคม 2564

การคิดนอกกรอบเป็นเรื่องสำคัญ และ เป็นคำยอดฮิตที่คนรุ่นใหม่ หรือ คนในแวดวงการทำงานคงจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ อย่างไรก็ตามแค่การคิดไม่ใช่เพียงอย่างเดียวที่จะทำให้เกิดพัฒนาการ แต่ต้องเป็นการกล้าก้าว (ลงมือทำ) และเรียนรู้ (คิดทบทวนข้อดี ข้อดี ที่เกิดขึ้น) จากสิ่งที่เกิดขึ้นณ จุด นอกกรอบเหล่านั้นด้วย … เช่นเดียวกับ พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ หรือ “น้องหมิว” นักแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย ที่ผลงานกำลังดีวันดีคืน ซึ่งทั้งหมดเริ่มต้นจาก “ความกล้า”

 

เช็กผล อัพเดตตารางคะแนนล่าสุด แบดมินตัน HSBC BWF World Tour Finals

 

 

1. กล้าคิดและอยู่นอกกรอบ เพื่อเสี่ยงกับความสำเร็จที่คุ้มค่า

ผลงานล่าสุดทั้งการเอาชนะเพื่อนร่วมชาติ “เมย์” รัชนก อินทนนท์ นักแบดมินตันมือ 1 ไทย และ ไท่ จื้อ อิง นักหวดลูกขนไก่หญิงเดี่ยวมือ 1 ของโลกชาวใต้หวัน เป็นการตอกย้ำว่า ปรากฏการณ์ที่เคยเกิดขึ้นที่ บาร์เซโลน่า มาสเตอร์ส ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ … เพราะฝีมือของหมิวพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด … ซึ่งผลลัพธ์ทั้งหมดเกิดจากการกระทำและวิธีคิดของตัวเองเธอ

 

ในวันที่ความคิดชวนให้เธอเดินออกมาเป็นนักแบดมินตันอิสระคงไม่ยากลำบากเท่ากับช่วงเวลาที่เธอต้องรับผิดชอบตัวเองอย่างเต็มตัว ตั้งแต่โปรแกรมการฝึกซ้อม การหาทัวร์นาเม้นต์แข่งขัน อุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ นั่นคือช่วงเวลายาก … ลองนึกภาพง่ายๆคนที่เคยเป็นมนุษย์เงินเดือน มีสวัสดิการ มีเงินเดือนประจำ/โบนัส แต่วันนึงก้าวออกมาทำธุรกิจของตัวเอง ก็จะต้องรับผิดชอบตัวเองทั้งหมด ไม่มีระบบหรือโครงสร้างใดๆรองรับชีวิตต่อไปอีก

 

แต่สิ่งหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์มาจากผู้ประสบความสำเร็จจากทุกวงการทั่วโลก ก็คือ อะไรที่ทำได้ยาก มักจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเสมอ … และผลงานของ น้องหมิว ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาน่าจะเป็นเครื่องการันตีว่า เธอเลือกอิสระที่ยากลำบากแต่เก็บเกี่ยวทุกช่วงเวลาเหล่านั้นสร้างประโยชน์ และ พัฒนาตัวเองได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

 

ไถ้ ซื่อ หยิง กับขวบปีที่จะไปต่อหรือพอแค่นี้

 

 

กาโรลิน่า มาริน เส้นทางชีวิตลิขิตเอง

 

2. กล้าที่จะย้อนแย้งกับหลักคิดทั่วไป นั่นคือ การไม่พอใจกับสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ 

“ไม่โทษใคร แค่นำตัวไปอยู่ในจุดที่ตอบโจทย์ของตัวเอง” … คงเป็นคำอธิบายสิ่งที่หมิวเลือก  ในวันที่เดินออกมาเป็นนักแบดอิสระ … ตัวผมเองก็ชอบที่จะได้พัฒนาตัวเองอย่างมีอิสระ และเชื่อว่า เจตนาของเธอไม่ได้มีสิ่งอื่นใด นอกจากการนำพาตัวเองไปให้ไกลมากที่สุด

 

ในเมื่อจุดที่เราอยู่ไม่สามารถตอบสนองเป้าหมายระยะกลางหรือระยะยาวได้ ก็ควรต้องพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่มีโอกาสจะพาเราไปได้ไกลกว่า … หรือ สรุปให้ง่ายๆว่าทางเดิมมันตัน ก็ขอลองไปทางใหม่ ต่อให้ข้างหลังจะเป็นเหว เส้นทางจะเป็นลวดหนาม อย่างน้อยๆ ก็ยังมีข้างหน้าให้ได้เดินไปต่อ

 

จุดหนึ่งจากคำสัมภาษณ์ของ น้องหมิว ที่ผมรู้สึกว่าเธอเป็นมุ่งไปข้างหน้าชัดเจนก็คือ เธอมักถามตัวเองบ่อยๆว่าฉันกำลังทำอะไรอยู่ ได้อะไรจากสิ่งที่ทำบ้าง และที่สำคัญเธอไม่เคยพอใจกับความพ่ายแพ้ที่ได้ยินแต่คำว่า “ทำเต็มที่แล้ว หรือ ทำได้ดีแล้ว”

พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ ฟ้าหลังฝน บนเส้นทางโตเกียวเกมส์ 2020

 

3. กล้ากดดันตัวเองในสนามซ้อม เพื่อปลดล็อคความไหลลื่นในสนามจริง

ในขณะที่หมิวตอบโต้ทุกเกมบุก และ แก้ปัญหาหลายช็อตจาก ไท้ จื่อ อิง ก่อนจะได้คะแนนและตะโกนเสียงดังออกมาได้อย่างที่เราเห็น จนทำให้มือ 1 ของโลก เดินเอียงเซและทำหน้าเบ้เหมือนไม่อยากแข่งด้วยแล้วนั้น … เชื่อว่าเธอกดดันตัวเองในการฝึกซ้อมมาอย่างหนัก 

 

โดยเฉพาะกับการเล่นเกมรับให้เหนียว อดทนรอจังหวะ และอ่านนิสัยการเล่นของคู่แข่งไปด้วย ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ … แต่ความไหลลื่นที่ดูไร้ซึ่งความกดดันในสนามแข่ง ย่อมเกิดจากการทุ่มเท มีวินัย และ กดดันตัวเองอย่างมากระหว่างการฝึกซ้อม … ถ้านึกภาพไม่ออกให้ดูโฆษณาที่ครั้งหนึ่ง ไมเคิล เฟลป์ส แสดงนำในเรื่องก่อนจะปิดท้ายด้วยประโยคที่อธิบายความเป็นสุดยอดฉลามหนุ่มของเขาว่า

 

“what you do in the dark that puts you in the light”

 

ซึ่งจริงสุดๆ เพราะบางครั้งเราทุ่มเทฝึกซ้อมตลอด 2-3 เดือนเพื่อการแข่งขันทัวร์นาเม้นต์เดียว หรือ นักกีฬาบางคนที่วางเป้าคว้าเหรียญโอลิมปิก เกมส์ อย่างน้อยๆก็ต้องทำงานอย่างหนักเป็นเวลา 4 ปีกว่าจะได้แข่ง แต่ก็เพื่อให้ตนเองมีความพร้อมมากที่สุด และไม่จำเป็นต้องกดดัน เพราะเตรียมตัวทุ่มเทมาอย่างดีที่สุดแล้ว

 

“ก่อนแข่งคงไม่มีใครคิดว่าฉันจะชนะ ไท่ จื้อ อิง ได้หรอกนะ … ก่อนหน้านี้ 4-5 ครั้งฉันก็แพ้มาตลอด อย่างไรก็ตามฉันแค่ลงไปทำให้เต็มที่ ไม่กดดันตัวเอง”

 

 

แบดมินตันเกมแห่งชีวิตและความฝันของ ณิชชาอร จินดาพล

 

4. กล้าตั้งคำถาม เพื่อค้นหาให้กับตัวเอง

ท้ายที่สุดซึ่งเราจะสังเกตเห็นสิ่งที่น้องหมิวทำมาตลอดนั่นคือ การกล้า ที่จะตั้งคำถามเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเอง ถามว่าหลายครั้งการตั้งคำถามของเธอดูก้าวร้าวหรือรุนแรงหรือไม่ ผมอยากให้มองไปที่สิ่งที่เธอเลือกทำมากกว่า ว่าสุดท้ายเธอยังคงฝึกซ้อมและลงสนามแข่งขันด้วยความพร้อมและหัวจิตหัวใจเกิน 100% เสมอ และโดยรวม หมิว แค่ตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมาเท่านั้น

 

แม้ว่าสังคมไทยอาจจะไม่สนับสนุนมากนักกับคนรุ่นใหม่ที่ตั้งถามเกินอำนาจหน้าที่ เพราะจะกลายเป็นเด็กนอกคอก หรือ บุคคลก้าวร้าวในทันที แต่หากเราอยากเห็นไม่ว่าจะเป็นวงการกีฬา หรือ วงการใดๆก็ตามก้าวหน้าก็ต่อไป อาจจะต้องเปิดโอกาสที่จะรับฟังคนรุ่นใหม่ หรือ ให้โอกาสสังคมของคนทีอยู่ภายใต้บังคับบัญชาได้แสดงออกทางความิคดเห็นมากขึ้น

 

เพราะคนบางคนมีความสามารถที่จะหาเส้นทางของตัวเองได้ดี อย่างที่หมิวรู้จักตัวเองมากพอว่าเธอเป็นนักกีฬาร่างกายสูงใหญ่ บาดเจ็บง่าย รวมถึงการมีจุดเด่นหรือจุดที่ยังต้องปรับปรุง หรือแม้แต่เธออาจจะดีไซน์โปรแกรมการฝึกซ้อมที่เหมาะสมกับตัวเองได้ด้วยซ้ำ เพราะเป้าหมายของเธอไม่ใช่แค่การแพ้อย่างน่าประทับใจ เธอต้องการชนะและไปให้ไกลมากที่สุด 

มากพอที่เธอจะบอกตัวเองได้ว่า … "ฉันทำได้ดีกว่าเดิมในทุกครั้งที่จับไม้แบดมินตัน"

 

ถอดบทเรียนจาก 10 แนวคิดของนักแบดมินตันไทยช่วยสร้างพลังบวกให้ชีวิต


stadium

author

นวพล เกียรติไพศาล

ชอบกินข้าวมันไก่แต่กลัวอ้วน รักแมวแต่โดนข่วน ดูกีฬาแต่ไม่ตามผล

โฆษณา