stadium

พลังของทีมเวิร์ก แคมเปญที่บอกว่าสนามกีฬาพัฒนาสนามชีวิต

9 กันยายน 2563

ถ้าให้คนทั่วไปกล่าวถึง "พลังของทีมเวิร์ก" เชื่อว่าทุกคนมองเหมือนกันว่านี่คือปัจจัยสำคัญที่สามารถสร้างปรากฏการณ์ให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในการแข่งขันกีฬาต่างๆ ที่เรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า พลิกล็อค หรือ ทีมม้ามืด รวมถึง จอมเซอร์ไพรส์ อย่างเช่น การคว้าแชมป์ของเลสเตอร์ ซิตี้ ปี 2016 ทั้งที่คุณภาพนักเตะ และ งบประมาณจะน้อยกว่าทีมอื่น รวมถึง การผงาดขึ้นมาคว้าแชมป์ฟุตบอลยูโร 2004 ของกรีซ ที่น็อคทีมเต็งทั้ง ฝรั่งเศส (เต็ง 1) ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ต่อด้วย สาธารณรัฐเช็ค (เต็ง 4) รอบรองชนะเลิศ ก่อนจะทำให้เจ้าภาพอย่าง โปรตุเกส (เต็ง 2) เสียน้ำตาในรอบชนะเลิศ … โดยกรีซชุดนั้นถูกยกให้เป็นสุดยอดทีมเวิร์ก ที่เปี่ยมไปด้วยสปิริต วินัย มุ่งมั่น และ ความสู้ไม่ถอย เรียกว่าเป็นเทพนิยายแห่งทีมเวิร์กเลยก็ว่าได้ 

 

 

โฆษณา 1 นาที … ที่แสดงให้เห็นถึงพลังของทีมเวิร์กได้เด่นชัด

พอนึกเรื่อง “พลังของทีมเวิร์ก” ก็ทำให้นึกถึงโฆษณาตัวล่าสุดของ ไมโล ที่ได้เน้นย้ำถึงการสื่อความหมายของคำว่า ทีมเวิร์ก แบบครบทุกมุมและน่าสนใจ โดยจุดเริ่มต้นทำให้ต้องฉุกคิดตามอยู่พอสมควรว่า “กีฬาทำให้เห็นอะไร” เพราะเรามักจะนึกถึงแค่ผลการแข่งขัน หรือภาพของการดีใจของผู้ชนะ และอารมณ์เสียใจของผู้แพ้ เท่านั้น แต่กลับละเลยรากแก้วที่สำคัญของกีฬานั่นคือการปลูกฝังบทเรียนสำคัญหนึ่งของชีวิต

 

และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการที่ ไมโล เน้นการสื่อสารด้วยคอนเทนต์ หรือเรื่องราวของกีฬาในกลุ่มเด็ก ยิ่งเป็นเรื่องที่ตอกย้ำชัดเจนว่าแบรนด์มีความเชื่อว่า กีฬาคือครูชีวิต ของเด็กๆ เพราะนี่คือพื้นที่ซึ่งจะช่วยให้บทเรียนมากมาย ส่วนครั้งนี้บทเรียนที่สำคัญก็คือคุณค่าของการทำงานเป็นทีม

 

 

ไมโลมาครั้งนี้ ด้วยการนำเสนอเรื่องราวของกีฬาในฐานะของการเป็นครูชีวิตผ่าน 3 ชนิดกีฬาประเภททีม ได้แก่ ฟุตบอล บาสเกตบอล และ วอลเลย์บอล มีจุดร่วมเดียวกัน ซึ่งชี้กลับไปที่ Key massage สำคัญว่า “พลังของทีมเวิร์ก” ที่สื่อสารให้เข้าใจง่ายๆ ถึงคุณค่าของการเล่นกีฬา การโฟกัสที่ความร่วมมือร่วมใจ การสนับสนุนและดูแลกันและกัน การพร้อมเดินไปด้วยกัน 

 

เช่นเดียวกับการตอกย้ำว่าผู้ปกครองยังถือเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญ เพราะเด็กๆ ที่เล่นกีฬาทุกคนย่อมอยากให้ คุณพ่อ-คุณแม่ ภูมิใจในความพยายามที่ได้แสดงออกมาและเคียงข้างทุกครั้งที่ลงสนามแข่งขันหรือแม้แต่การที่ผู้ปกครองจะก้าวเข้ามาอยู่ในโลกกีฬาของเขา เช่น การร่วมฝึกซ้อม คอยให้กำลังใจ และ คอยแนะนำในฐานะมุมมองจากผู้ใหญ่ ก็ยังคงเป็นตัวแปรที่สำคัญของเด็กในวัยเจริญเติบโต

 

 

ตอบคำถามสำคัญ… เพราะอะไรถึงควรให้ลูกเล่นกีฬาแบบเป็นทีม?
อีกจุดสำคัญคือ ไมโล ได้ตอบคำถามสำคัญของเหล่าคุณพ่อคุณแม่ที่อาจเคยอยู่ในจุดที่ต้องตัดสินใจว่า เราจะสนับสนุนให้ลูกเล่นกีฬาได้เยอะหรือจริงจังแค่ไหน? ควรจะสนับสนุนอย่างไร?... ควรเลือกกีฬาประเภทไหนให้ลูกเล่น และเล่นกีฬาแบบเป็นทีมดีกว่าอย่างไร? … ฯลฯ 

 

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจกลัวว่าการลงทุนเรื่องกีฬากับลูก จะได้รับผลลัพธ์ที่ไม่คุ้มค่านักหรือแม้แต่กลัวว่า ลูกจะเสียการเรียน เสียเวลาอ่านหนังสือ ทำให้เหนื่อย บาดเจ็บ ป่วย เป็นไข้ ฯลฯ แต่ถ้าหากเราเข้าใจสิ่งที่ ไมโล สื่อสารมาโดยตลอด รวมถึงโฆษณาชุดใหม่ล่าสุดนี้ จะเข้าใจได้ในทันทีว่า

คุณค่าของกีฬาประเภททีมนั้น สามารถให้ประสบการณ์ และ สร้างการเรียนรู้ด้วยโลกใบที่ใหญ่ขึ้น เพราะหลายสิ่งอาจไม่เกิดขึ้นหรือไม่สามารถเข้าใจได้ในห้องเรียน แต่สามารถซึมซับได้ผ่านกิจกรรมนอกห้องเรียนรวมถึงการเล่นกีฬา ซึ่งทั้งหมดช่วยพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในสังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคต  และเด็กๆ ยัง ได้พัฒนา EQ หรือ Emotional Quotient ความฉลาดทางด้านอารมณ์ ซึ่งสำหรับกีฬาประเภททีมจะช่วยสนับสนุนส่วนนี้มากกว่ากีฬาประเภทบุคคล

 

และเมื่อรวมกับ จุดที่ไมโลตอกย้ำ คือ “พลังของทีมเวิร์ก” จะเห็นได้ว่า ทีมเวิร์กคือส่วนสำคัญอย่างมากที่เด็กจะได้เรียนรู้จากเกมกีฬาประเภททีม ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกช่วงชีวิต ตั้งแต่วัยเรียนจนกระทั่งถึงวัยทำงาน ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดก็ตาม

 

 

หากเราเปรียบเทียบจากฉากต่างๆ ในโฆษณา เหตุการณ์เหล่านั้นจะสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การช่วยเหลือและให้กำลังใจกันและกันจนลุกขึ้นสู้ การห่วงใยและใส่ใจคนรอบข้าง การปลอบประโลมผู้อื่นเป็น การเก็บอารมณ์เป็น การเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น รวมถึงการพร้อมที่จะเคียงข้างกันในทุกความรู้สึก ภายใต้คำว่า “ทีมเดียวกัน” … ซึ่งในการใช้ชีวิต เราอาจต้องเจอ หรือร่วมทีม กับบุคคลอื่นนับครั้งไม่ถ้วนเลยทีเดียว

 

 

ลิเวอร์พูล วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย และ บาสเกตบอลหญิงชุดแชมป์ซีเกมส์ … ยืน 1 ด้วยพลังของทีมเวิร์ก

 

จากโฆษณาของไมโล ทำให้นึกถึง 3 ทีมนักกีฬา ฟุตบอล วอลเลย์บอล และบาสเกตบอล ที่ทำให้เราเห็นภาพของ “พลังของทีมเวิร์ก” ได้อย่างชัดเจน เริ่มที่ความสำเร็จของ ลิเวอร์พูล ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งทีมเวิร์กของโลกฟุตบอลยุคปัจจุบัน เพราะพวกเขามีความเป็นหนึ่งเดียวที่ถูกถ่ายทอดผ่านสไตล์การเล่น แต่แท้จริงแล้วทีมเวิร์กของพวกเขาเริ่มมาตั้งแต่โครงสร้างเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารสโมสร ผู้จัดการทีม ทีมงาน และ นักฟุตบอล เพราะไม่ใช่แค่ความสำเร็จในสนามเท่านั้น แต่ทีมหงส์แดง ขึ้นชื่อว่าเป็นทีมฟุตบอลที่มีความกลมเกลียวกันในห้องแต่งตัว จนถูกหยิบยกให้เป็นทีมฟุตบอลที่มีบรรยากาศของความเป็นครอบครัวที่น่าชื่นชม

 

ส่วนบาสเกตบอล ชุดทีมชาติไทยหญิงชุด ซีเกมส์ 2011  หากใครได้ชมภาพการแข่งขันครั้งนั้นจะเห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวของการลุกขึ้นสู้ตั้งแต่เริ่มต้นวินาทีแรก จนถึงวินาทีสุดท้าย และได้สร้างปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้น ด้วยการชนะฟิลิปปินส์ 75 – 73 คะแนน … ทั้งๆที่ ฟิลิปปินส์คือทีมที่ขึ้นชื่อว่านักกีฬามีความสามารถด้านบาสเกตบอลสูงสุด แต่สาเหตุที่ทีมบาสหญิงไทยทำได้นั้นเกิดจากการมีทีมเวิร์กที่ดี ทุกคนเชื่อมั่นและเคารพซึ่งกันและกัน

 

ท้ายที่สุดคือ 7 เซียน วอลเลย์บอลไทย ทีมที่กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคี และเป็นตัวแทนทีมกีฬาที่ยิ้มด้วยกัน สุขด้วยกัน เหนื่อยด้วยกัน ร้องไห้ด้วยกัน ซึ่งทุกครั้งที่ลงแข่งพวกเธอสร้างความสุขให้คนดูได้เสมอ เช่นเดียวกับบรรยากาศและภาพน่ารักๆ จากความเป็น 1 เดียวที่พวกเธอมักโพสต์ผ่านสื่อออนไลน์ ก็ทำให้ผู้ติดตามมักมีรอยยิ้มร่วมด้วย นับได้ว่า ทีมเวิร์ก ส่งผลบวกทั้งในและนอกสนามกีฬาจริงๆ

 

จะเห็นได้ว่าแม้จะต่างประเภทกีฬา แต่จุดร่วมของทีมกีฬาที่หยิบยกขึ้นมาพูดถึงมีสิ่งที่เหมือนกันอยู่คือ พลังที่ทำให้ลุกขึ้นสู้, พลังที่ให้มากกว่าความห่วงใย, พลังของทีมเวิร์ก และการเคียงข้างกันอยู่เสมอ และนั่นคือการย้อนกลับไปคำข้างต้นว่า “กีฬาทำให้เห็นอะไร” … แล้วคุณล่ะ เห็นอะไรจากกีฬากันบ้าง ?  

 

 

Teamwork101: ถอดรหัสและความหมายว่าเหตุใด “กีฬาคือครูชีวิต” 

จากโฆษณาของไมโล เราจะได้เห็นว่าการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์และกิจกรรมที่ได้ลงมือทำ ย่อมสอนมุมมองมากมายให้กับชีวิตคนเราได้จริงๆ เมื่อออกจากห้องเรียนสู่โลกกว้าง เราจะค้นพบเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เปรียบเสมือนบทเรียน และ กีฬาก็เปรียบเสมือนครูคนหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะชีวิตในช่วงวัยเด็กที่มีโอกาสได้คลุกคลีกับกีฬากันแทบทั้งนั้น  ที่สำคัญบทเรียนที่ได้รับในทุกด้านของกีฬาคือองค์ประกอบสำคัญของพัฒนาการในการใช้ชีวิตในสังคม โดยบทเรียนสำคัญๆ ที่เราได้เรียนรู้จากกีฬาคือ 

 

  • Togetherness หรือการพร้อมที่จะก้าวไปด้วยกันเสมอไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ เพราะทีมกีฬาไม่ใช่ว่าจะชนะเสมอไป ดังนั้นไม่ว่าผลการแข่งขันจะเป็นอย่างไร คงไม่สำคัญไปกว่าการที่พวกเราจะต้องปรับปรุง เรียนรู้ และพร้อมพัฒนาไปด้วยกัน เช่นเดียวกับการใช้ชีวิตที่ทุกคนคงไม่ประสบความสำเร็จหรือได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการจากทีม (ณ เวลานั้น) ทุกครั้ง แต่ถ้าทุกคนพร้อมจะสู้ ปรับปรุง และ พัฒนาตัวเอง วันหนึ่งทีมก็จะมีความแข็งแกร่ง และ สามารถประสบความสำเร็จได้

 

  • Sharing: แบ่งปันทริคเด็ดๆ ให้กับทีม เก่งไปด้วยกันเพราะมีเป้าหมายร่วมกัน อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คำว่า ทีมเวิร์กลดศักยภาพลงไปคือ การแข่งขันภายในที่บางครั้งทำให้เกิดกำแพงทางความรู้สึกขึ้นในใจ แต่แท้จริงแล้วการแข่งขันภายในทีมคือเรื่องที่ดี แต่ไม่ควรทำให้เกิดปัญหาการไม่แบ่งปันซึ่งกันและกัน เพราะกีฬาประเภททีมจะสอนให้รู้ว่า ความสำเร็จที่ยั่งยืนและยาวนานย่อมเกิดจากการพัฒนาไปพร้อมกัน ดังนั้นการแบ่งปันความสามารถ ทักษะ หรือ ความรู้ เพื่อก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน ภายใต้เป้าหมายเดียวกันคือเรื่องจริงที่ไม่ได้อยู่แค่ในทีมกีฬา แต่อยู่ในทุกทีมของชีวิต

 

  • Energy to helping each other: ซัพพอร์ตกันและกัน ยิ่งได้พลังจากทีมเวิร์ก เป็นสิ่งที่สะท้อนสุภาษิตไทย ที่ว่า “สองหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว” และ คำที่เราจะได้ยินบ่อยๆว่า “คนเราเก่งไม่เหมือนกัน” ได้เป็นอย่างดี และไม่ว่าโลกกีฬาหรือการใช้ชีวิตนี่คือเรื่องจริง เพราะต่อให้เราเก่งแค่ไหน เราไม่อาจทำทุกสิ่งด้วยตัวคนเดียวได้ เช่น ในฟุตบอลต่อให้เราจะเล่นเก่งทุกตำแหน่ง แต่สุดท้ายถ้าเราคือกองหน้า ก็ควรอยู่ด้านหน้า แต่ถ้าเลือกลงมาวิ่งไล่คู่แข่งถึงตำแหน่งกองหลัง ก็จะทำให้ภาพรวมของทีมเสียไป เหมือนกับการทำงานที่บางครั้งเราต้องรู้จักไว้วางใจ และเชื่อใจในการสนับสนุน แม้จะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ภาพรวมในฐานะของคำว่าทีม ออกมาดูดีขึ้นได้นั่นเอง

 

  • Respect of self and others: ได้รู้จักตัวเองและเพื่อนในทีมมากขึ้น เสริมพลังกันได้มากกว่าเดิม

ท้ายที่สุดคือการทำงานเป็นทีม จะช่วยสะท้อนตัวตนของเราได้มากขึ้น ขณะเดียวกันตัวเราเองก็จะกลายเป็นกระจกที่ช่วยสะท้อนคนอื่นได้เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนั้น การซัพพอร์ตกันและกันที่เกิดขึ้น จะสนับสนุนกันในส่วนที่ถูกจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือ ภาษาในโลกกีฬาที่เราได้ยินบ่อยๆ ก็คือ “เล่นกันได้เข้าขา” หรือ “เล่นกันได้รู้ใจ” ซึ่งสะท้อนถึงพลังของทีมเวิร์กที่ส่งเสริมกันอย่างทวีคูณและเป็นสิ่งที่ทีมคู่แข่งไม่อาจลอกเลียนแบบได้ง่ายๆอีกด้วย

 

ดังนั้นคำว่า “กีฬาคือครูชีวิต” จึงเป็นสิ่งที่นิยามคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเกมกีฬาประเภททีมได้แท้จริง

 

 

ลูกไม้ใต้ต้น : ภาสวัฒน์ วงศ์ษา ตัวแทนการสื่อสารของทีมเวิร์กในบ้านที่ลงตัว 

อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจคือ การต้องมีบทของคุณแม่ ซึ่งมองเผินๆ ก็แอบคิด เอ๊ะ มีทำไม … แต่นี่คือการหยิบเอาเรื่องจริงมาถ่ายให้เห็นภาพว่า การค้นพบความสนุก หรือ Passion จากเกมกีฬาของเด็กๆ นั้น จะขาดซึ่งการผลักดันและส่งเสริมโดยครอบครัวไม่ได้เลย หรือสรุปง่ายๆ ว่า “ทีมเวิร์กที่ดี เริ่มจากในบ้านด้วยซ้ำ”

 

โดยโฆษณาของไมโล ซึ่งเน้นย้ำเรื่อง พลังของทีมเวิร์ก ก็ได้ น้องวอร์มอัพ หรือ ด.ช. ภาสวัฒน์ วงศ์ษา (น้องที่เล่นฟุตบอล) มาเป็นตัวแสดงหลัก ซึ่งน้อง ถูกยกให้มีฉายาว่า “เบ็คแฮมน้อย” ที่เคยมาโชว์ลีลาปั่นฟรีคิกสุดแม่นให้เห็นกันทางรายการซูเปอร์เท็น อีกทั้งโชว์ทักษะเกินตัวมากมายผ่านคลิปวิดีโอในโลกออนไลน์ ซึ่งหลายคนอาจคุ้นนามสกุล เพราะน้องวอร์มอัพ คือลูกชาย “ของ” เจ้าใหม่ ภานุพงศ์ วงศ์ษา อดีตกัปตันฟุตบอลทีมชาติไทย ซึ่งครอบครัวนี้ก็ให้การสนับสนุนเส้นทางนักกีฬาฟุตบอลของน้องมาตลอดนับเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการมีทีมเวิร์กที่ดี ที่เริ่มต้นจากครอบครัว แล้วเมื่อมองตามหลักการตลาดก็เป็น Value Added ที่เสริมให้แคมเปญนี้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เพราะ น้องวอร์มอัพ มีความโดดเด่นชัดเจน ทั้งในด้าน Athletic Performance (ความเชี่ยวชาญและศักยภาพในการเล่นกีฬา) มีความสามารถที่ยอดเยี่ยมได้รับการยอมรับจริงๆ รวมถึง และ Marketable Lifestyle (คุณค่าทางการตลาดจากไลฟ์สไตล์) ซึ่งข้อหลังถือเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดในยุคปัจจุบัน เพราะน้องเป็นคนที่รักและคลั่งไคล้กีฬาฟุตบอลมากๆ ประกอบกับการที่ครอบครัวคือส่วนสำคัญที่ปลูกฝังให้น้องเข้าใจคุณค่าและประโยชน์ของกีฬาประเภททีมมาตั้งแต่เด็กๆ ยิ่งทำให้น้องสื่อสารออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติและน่าเชื่อถือ 

 

จึงสรุปได้ว่าความแข็งแรงและลงตัวของโฆษณาไมโล คือการทำให้เห็นถึงความสำคัญของการเล่นกีฬาแบบทีมเวิร์กได้อย่างยอดเยี่ยมและตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร เป็นแคมเปญดีๆ ที่ส่งต่อความเชื่อใน “พลังของทีมเวิร์ก” และ “กีฬาคือครูชีวิต” ได้อย่างน่าเชื่อถือ และทรงพลังจริงๆ 


 เป็นแคมเปญดีๆ ที่ส่งต่อความเชื่อที่มีคุณค่าไปยังผู้ได้รับชม


stadium

author

นวพล เกียรติไพศาล

StadiumTH Content Creator

La Vie en Rose